น้ำมันมะพร้าวกับโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งคืออะไร

 

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายไม่ลุกลามอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย มีมะเร็งที่ส่งผลต่อมนุษย์ที่ทราบแล้วกว่า 200 ชนิด

สาเหตุของมะเร็งนั้นมีหลากหลาย ซับซ้อนและเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น มีหลายปัจจัยที่ทราบแล้วว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ปัจจัยด้านอาหาร การติดเชื้อบางอย่าง การสัมผัสรังสี การขาดกิจกรรมทางกายความอ้วนและมลภาวะสิ่งแวดล้อม[2] ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ยีนเสียหายโดยตรงหรืออาจประกอบกับความบกพร่องทางพันธุกรรมที่มีอยู่เดิมในเซลล์ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้[3] มะเร็งราว 5–10% สามารถติดตามไปยังความบกพร่องทางพันธุกรรมแต่กำเนิดโดยตรง[4] มะเร็งหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยการไม่สูบบุหรี่ ทานผัก ผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grain) มากขึ้น ทานเนื้อและคาร์โบไฮเดรตขัดสี (refined) น้อยลง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย จำกัดการรับแสงอาทิตย์ และรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด]

มะเร็งสามารถตรวจพบได้หลายวิธี รวมทั้งการมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง การตรวจคัดกรองโรค หรือการสร้างภาพทางการแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งแล้ว จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยปกติ มะเร็งรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัดและการผ่าตัด โอกาสการรอดชีวิตของโรคมีหลากหลายมากขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็งและขอบเขตของโรคเมื่อเริ่มต้นการรักษา มะเร็งสามารถเกิดในบุคคลทุกช่วงอายุ แต่ความเสี่ยงการกลายเป็นมะเร็งนั้นโดยปกติจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นมะเร็งน้อยชนิดที่พบมากกว่าในเด็ก ในปี 2550 มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์ 13% ทั่วโลก (7.9 ล้านคน) อัตรานี้เพิ่มสูงขึ้นเพราะมีผู้รอดชีวิตถึงวัยชรามากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตครั้งใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

มะเร็งในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 66,000 ราย โดยในผู้ชายพบมะเร็งปอดมากที่สุด 5,535 ราย รองลงมาคือโรคมะเร็งตับ ส่วนผู้หญิงพบมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด 1,484 ราย รองลงมาคือ มะเร็งปอดมะเร็งเต้านม

ในปี พ.ศ. 2553 สถิติมะเร็งที่พบมากที่สุด 10 อันดับแรกในประเทศไทย

อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายจำนวน (%)โรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิงจำนวน (%)
1 Trachea, Bronchus, Lung 23.6 Breast 47.8
2 Colon, Rectum 21.5 Cervix uteri 16.2
3 Liver, Bile ducts 17.3 Colon, Rectum 10.4
4 Esophagus 8.2 Trachea, Bronchus, Lung 7.1
5 Nasopharynx 6.6 Corpus uteri 4.0
6 Non-Hodgkin lymphoma 6.4 Ovary 4.0
7 Tongue 4.8 Liver, Bile ducts 3.5
8 Mouth 4.5 Thyroid 2.6
9 Larynx 3.7 Non-Hodgkin lymphoma 2.4
10 Stomach 3.6 Stomach 2.0

 

โภชนาการกับโรคมะเร็ง

การกินและพฤติกรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก อาหารบางประเภท มีสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้สูงและป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารต้านมะเร็ง  โดย บรอกโคลี, อโวคาโด , แครอท, ฯลฯ เป็นหนึ่งในอาหารต้านมะเร็งที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป

จากการศึกษาพบว่า อาหารอาจมีส่วนสัมพันธ์ กับการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 30-50% แต่ในขณะเดียวกันอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้ ธัญพืช และ เครื่องเทศต่างๆ ก็มี คุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลัก โภชนาการ จึงเป็นหนทางหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้

การปฏิบัติป้องกันโรค
รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่าปลี, กะหล่ำดอก, ผักคะน้า, หัวผักกาด, บรอคโคลี่ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, ลำไส้ส่วนปลาย, กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
รับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก, ผลไม้, ข้าว, ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
รับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน และวิตามินเอสูง เช่น ผัก ผลไม้สีเขียว-เหลือง เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด
รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร
ควบคุมน้ำหนักตัว โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก, ถุงน้ำดี, เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออกกำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็งเหล่านี้ได้

 

อาหารที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง

  1. อาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะราสีเขียว-สีเหลือง
  2. อาหารไขมันสูง
  3. อาหารเค็มจัด ส่วนไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือ ดินประสิว

สาเหตุที่เราไม่เป็นมะเร็ง

มีสมมุติฐานที่ว่า คนเราทุกคนมีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกาย แต่ที่เราเป็นมะเร็ง ก็เพราะเรามีระบบภูมิ

คุ้มกัน และเราจะเป็นมะเร็งก็ต่อเมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายจนไม่สามารถค่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้

(Holleb 1986) แม้ว่าเราจะมีสารก่อมะเร็งอยู่ในร่างกาย แต่ถ้าภูมิคุ้มกันของเรายังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราก็จะไม่เป้นมะเร็ง ดังนั้น ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จึงเป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง

มีปัจจัยหลายอย่าง ที่เราจะเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง เช่น การรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้เกิดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญก็คือ หลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็ง เช่นการสูบบุหรี่ และการบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว ประการสุดท้าย คือการเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยการบริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ (ดูคำอธิบายในตอนต่อไป)

ความสำคัญของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่คนทั่วโลกนำมาใช้ประโยชน์ในการหุงต้ม เป็นสมุนไพรป้องกันรักษาโรค และเป็นเครื่องสำอางบำรุงความงามมาเป็นเวลาช้านาน โดยไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่เมื่อถูกสมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน ชักชวนให้เลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าวโดยอ้างว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันอิ่มตัว

เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ แล้วเปลี่ยนมาเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวันน้ำมันดอกคำฝอยฯลฯ ผู้บริโภคกลับเป็นโรคสมัยใหม่ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย มีการศึกษาพบว่า สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งก็คือ การบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว

น้ำมันมะพร้าว สามารถใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับมะเร็งได้ ข้อความนี้ไม่ได้เกิดจากการเล่าประสบการณ์ของผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแต่เพียงอย่างเดียว แต่จากผลการวิจัยและศึกษาทางการแพทย์อีกด้วย

การบริโภคน้ำมันมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงนี้เอง ที่จะขัดขวางการเกิดเซลล์มะเร็ง ก่อนที่มันจะทำลายเซลล์อื่นๆ การพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เป็นก้าวแรกในการป้องกันและการรักษาโรคมะเร็ง รวมทั้งโรคอื่นๆด้วย

บทความนี้จะได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของน้ำมันมะพร้าว โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง บทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าวในการต่อต้านโรคมะเร็ง ตลอดจนการใช้น้ำมันมะพร้าวในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง

 

 

 

ฝากความคิดเห็นของคุณ