RSS

โพสต์บล็อกของ'2014''มิถุนายน'

ใช้น้ำมันมะพร้าวทำอาหารแล้วมีกลิ่น / เทคนิคการรับประทานน้ำมันมะพร้าว

กลิ่นของน้ำมันมะพร้าวมีเหตุผล 2 ลักษณะ คือ 
1. ความเคยชินของการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีฟอกสี ฟอกกลิ่นออกจนหมดจึงไม่ได้กลิ่นเวลาทำอาหาร

2. น้ำมันพืชบริสุทธิ์ทุกชนิดจะมีกลิ่นเฉพาะตัว เนื่องจากไม่ได้ใช้สารเคมีใดเข้าไปดัดแปลง น้ำมันมะพร้าวก็เช่นกัน จะมีกลิ่นเฉพาะของน้ำมันมะพร้าว หากผู้บริโภคไม่เคยชิน อาจใส่ใบเตยหรือหอมซอยลงไปในน้ำมันก่อนทอด จะทำให้กลิ่นของน้ำมันมะพร้าวลดลงได้มาก

เทคนิคการับประทานน้ำมันมะพร้าวในรูปแบบต่าง ๆ 

1. ใส่ผสมในน้ำผลไม้ (สูตรของ ดร.ณรงค์โฉมเฉลา ใส่ลงในน้ำส้มคั้นรับประทานทุกวัน) 
2. ใส่ในแกงจืด อาหารแกงต่างๆ 
3. ใช้เป็นน้ำสลัด 
4. ราดบนน้ำแข็งใส ไอศกรีม (สูตรนี้เด็กชอบรับประทาน) 
5. ใช้ทอดอาหาร อาหารจะไม่ชุ่มน้ำมัน และมีความกรอบได้นาน 
6. ใส่ลงไปพร้อมการหุงข้าว จะทำให้ได้ข้าวนุ่ม หอม อร่อย (สูตรพิเศษใส่กระเทียมเล็ก 5-6 กลีบ และใบเตยโรยเกลือนิดหน่อยจะยิ่งทำให้อร่อยมากขึ้น)
เบอร์โทรที่ทำการไปรษณีย์ทั่วกทม.

เบอร์โทรที่ทำการไปรษณีย์ทั่วกทม.

ที่ทำการไปรษณีย์


   ที่ทำการไปรษณีย์คูคต

0-2531-1075

   ที่ทำการไปรษณีย์นานา

0-2252-7598

   ที่ทำการไปรษณีย์สาทร

0-2285-1974

   ที่ทำการไปรษณีย์สีลม

0-2231-4813

ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต

0-2243-7886

   ที่ทำการไปรษณีย์บางนา

0-2396-0010

   ที่ทำการไปรษณีย์บางปู

0-2323-9567

   ที่ทำการไปรษณีย์บางแค

0-2413-0562

   ที่ทำการไปรษณีย์บางโพ

0-2585-6477

   ที่ทำการไปรษณีย์สำโรง

0-2394-0380

ที่ทำการไปรษณีย์ดินแดง

0-2247-5361

   ที่ทำการไปรษณีย์ท่าพระ

0-2467-5605

   ที่ทำการไปรษณีย์บางบอน

0-2416-1301

   ที่ทำการไปรษณีย์บางบ่อ

0-2338-1221

   ที่ทำการไปรษณีย์บางพลี

0-2317-1238

   ที่ทำการไปรษณีย์บางรัก

0-2236-9847

   ที่ทำการไปรษณีย์บางอ้อ

0-2424-8059

   ที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำ

0-2395-0002

   ที่ทำการไปรษณีย์ปากลัด

0-2463-4688

   ที่ทำการไปรษณีย์รังสิต

0-2523-7102

   ที่ทำการไปรษณีย์รัฐสภา

0-2243-8949

   ที่ทำการไปรษณีย์สวนพลู

0-2287-2757

   ที่ทำการไปรษณีย์สามแยก

0-2221-8684

   ที่ทำการไปรษณีย์สามโคก

0-2593-1325

   ที่ทำการไปรษณีย์สำเหร่

0-2439-6258

   ที่ทำการไปรษณีย์ออเงิน

0-2998-2188

ที่ทำการไปรษณีย์คลองตัน

0-2392-2583

   ที่ทำการไปรษณีย์คลองถนน

0-2531-6002

   ที่ทำการไปรษณีย์คลองสาน

0-2437-7045

   ที่ทำการไปรษณีย์คลองเตย

0-2240-0622

   ที่ทำการไปรษณีย์จตุจักร

0-2940-5400

   ที่ทำการไปรษณีย์จิตรลดา

0-2281-6271

   ที่ทำการไปรษณีย์ตึกช้าง

0-2937-4956

   ที่ทำการไปรษณีย์ธัญบุรี

0-2577-2907

   ที่ทำการไปรษณีย์นนทบุรี

0-2580-0507

   ที่ทำการไปรษณีย์บางกรวย

0-2447-5722

   ที่ทำการไปรษณีย์บางซื่อ

0-2585-2687

   ที่ทำการไปรษณีย์บางพลัด

0-2424-8564

   ที่ทำการไปรษณีย์บางใหญ่

0-2920-0388

   ที่ทำการไปรษณีย์บึงกุ่ม

0-2376-1755

   ที่ทำการไปรษณีย์พระโขนง

0-2390-2270

   ที่ทำการไปรษณีย์มหาดไทย

0-2622-1397

   ที่ทำการไปรษณีย์มีนบุรี

0-2543-7217

   ที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา

0-2287-3036

   ที่ทำการไปรษณีย์ราชเทวี

0-2251-5522

   ที่ทำการไปรษณีย์ลำลูกกา

0-2569-1360

   ที่ทำการไปรษณีย์ศิริราช

0-2411-2087

   ที่ทำการไปรษณีย์สวนใหญ่

0-2525-2179

   ที่ทำการไปรษณีย์หนองจอก

0-2543-1356

   ที่ทำการไปรษณีย์หนองแขม

0-2421-1708

   ที่ทำการไปรษณีย์หลักสี่

0-2574-0233

   ที่ทำการไปรษณีย์หัวหมาก

0-2318-2560

   ที่ทำการไปรษณีย์อุดมสุข

0-2393-9392

   ที่ทำการไปรษณีย์อ่อนนุช

0-2321-2626

   ที่ทำการไปรษณีย์เทศปทุม

0-2581-6323

   ที่ทำการไปรษณีย์ไทรน้อย

0-2597-1152

ที่ทำการไปรษณีย์คลองกุ่ม

0-2377-5555

   ที่ทำการไปรษณีย์คลองจั่น

0-2378-1606

   ที่ทำการไปรษณีย์คลองด่าน

0-2330-1910

   ที่ทำการไปรษณีย์คลองหลวง

0-2516-8383

   ที่ทำการไปรษณีย์จรเข้บัว

0-2509-3656

   ที่ทำการไปรษณีย์ดอนเมือง

0-2566-1586

   ที่ทำการไปรษณีย์ตลาดขวัญ

0-2525-0364

   ที่ทำการไปรษณีย์ตลิ่งชัน

0-2448-5701

   ที่ทำการไปรษณีย์บางเสาธง

0-2315-1782

   ที่ทำการไปรษณีย์ปทุมธานี

0-2581-5562

   ที่ทำการไปรษณีย์ประตูน้ำ

0-2255-1960

   ที่ทำการไปรษณีย์ปากเกร็ด

0-2584-3116

   ที่ทำการไปรษณีย์ป้อมปราบ

0-2222-3866

   ที่ทำการไปรษณีย์พัฒนาการ

0-2318-2561

   ที่ทำการไปรษณีย์พุทธมณฑล

0-2441-9503

   ที่ทำการไปรษณีย์ยุติธรรม

0-2513-7824

   ที่ทำการไปรษณีย์รองเมือง

0-2214-4322

   ที่ทำการไปรษณีย์รามคำแหง

0-2314-0495

   ที่ทำการไปรษณีย์ลาดพร้าว

0-2514-0014

   ที่ทำการไปรษณีย์วัดเลียบ

0-2222-9858

   ที่ทำการไปรษณีย์สนามเป้า

0-2279-5694

   ที่ทำการไปรษณีย์สันติสุข

0-2381-3905

   ที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน

0-2279-8048

   ที่ทำการไปรษณีย์สำโรงใต้

0-2183-2198

   ที่ทำการไปรษณีย์สุทธิสาร

0-2276-0500

   ที่ทำการไปรษณีย์หนองเสือ

0-2549-1057

   ที่ทำการไปรษณีย์หลานหลวง

0-2281-3807

   ที่ทำการไปรษณีย์หัวลำโพง

0-2216-6561

   ที่ทำการไปรษณีย์ห้วยขวาง

0-2645-2731

   ที่ทำการไปรษณีย์อ้อมน้อย

0-2420-2399

   ที่ทำการไปรษณีย์อ้อมใหญ่

0-2429-0892

   ที่ทำการไปรษณีย์เสนานิคม

0-2579-4148

   ที่ทำการไปรษณีย์ไตรรัตน์

0-2521-0224

ที่ทำการไปรษณีย์คลองบางนา

0-2393-0612

   ที่ทำการไปรษณีย์จันทรเกษม

0-2511-2392

   ที่ทำการไปรษณีย์ด่านสำโรง

0-2384-1306

   ที่ทำการไปรษณีย์บางกระบือ

0-2243-3251

   ที่ทำการไปรษณีย์บางบัวทอง

0-2924-1503

   ที่ทำการไปรษณีย์บางปะแก้ว

0-2427-6520

   ที่ทำการไปรษณีย์บางลำภูบน

0-2282-2481

   ที่ทำการไปรษณีย์บางโพงพาง

0-2683-1699

   ที่ทำการไปรษณีย์พระประแดง

0-2463-0604

   ที่ทำการไปรษณีย์พัฒน์พงศ์

0-2236-5272

   ที่ทำการไปรษณีย์ภาษีเจริญ

0-2444-4313

   ที่ทำการไปรษณีย์ราชดำเนิน

0-2282-1811

   ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา

0-2521-3044

   ที่ทำการไปรษณีย์ลาดกระบัง

0-2737-4831

   ที่ทำการไปรษณีย์สะพานใหม่

0-2521-1912

   ที่ทำการไปรษณีย์อ่อนนุช 1

0-2361-5396

ที่ทำการไปรษณีย์กระทุ่มล้ม

0-2429-2900

   ที่ทำการไปรษณีย์กลางบางรัก

0-2614-7457

   ที่ทำการไปรษณีย์กล้วยน้ำไท

0-2391-2487

   ที่ทำการไปรษณีย์งามวงศ์วาน

0-2589-5497

   ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์

0-2216-0232

   ที่ทำการไปรษณีย์ทุ่งเศรษฐี

0-2316-6369

   ที่ทำการไปรษณีย์บางกอกน้อย

0-2418-4651

   ที่ทำการไปรษณีย์บางกอกใหญ่

0-2465-7492

   ที่ทำการไปรษณีย์บางขุนนนท์

0-2424-0177

   ที่ทำการไปรษณีย์บางคอแหลม

0-2289-2677

   ที่ทำการไปรษณีย์บึงทองหลาง

0-2375-1678

   ที่ทำการไปรษณีย์ประสานมิตร

0-2262-1737

   ที่ทำการไปรษณีย์ปากเกร็ด 2

0-2583-2690

   ที่ทำการไปรษณีย์พลับพลาไชย

0-2233-6822

   ที่ทำการไปรษณีย์ศึกษาธิการ

0-2282-0842

   ที่ทำการไปรษณีย์หน้าพระลาน

0-2224-4705

   ที่ทำการไปรษณีย์ไทยพาณิชย์

0-2254-7812

ที่ทำการไปรษณีย์กองทัพอากาศ

0-2523-9165

   ที่ทำการไปรษณีย์ซีคอนสแควร์

0-2721-8510

   ที่ทำการไปรษณีย์บางขุนเทียน

0-2416-5137

   ที่ทำการไปรษณีย์ราษฎร์บูรณะ

0-2427-7187

   ที่ทำการไปรษณีย์ลาดหลุมแก้ว

0-2599-1740

   ที่ทำการไปรษณีย์วงเวียนใหญ่

0-2437-1227

   ที่ทำการไปรษณีย์วัดพระยาไกร

0-2211-8374

   ที่ทำการไปรษณีย์สมุทรปราการ

0-2384-1316

   ที่ทำการไปรษณีย์สหประชาชาติ

0-2282-4694

   ที่ทำการไปรษณีย์เกษตรศาสตร์

0-2579-8534

   ที่ทำการไปรษณีย์เจ้าคุณทหาร

0-2326-6035

ที่ทำการไปรษณีย์ซันทาวเวอร์ส

0-2617-7646

   ที่ทำการไปรษณีย์พระปิ่นเกล้า

0-2881-9105

   ที่ทำการไปรษณีย์วังเทวะเวสม์

0-2281-2805

   ที่ทำการไปรษณีย์สาธุประดิษฐ์

0-2294-5205

ที่ทำการไปรษณีย์ทำเนียบรัฐบาล

0-2282-1220

   ที่ทำการไปรษณีย์บางนาทาวเวอร์

0-2312-0216

ที่ทำการไปรษณีย์กระทรวงการคลัง

0-2273-9405

   ที่ทำการไปรษณีย์พระสมุทรเจดีย์

0-2425-8649

   ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว

0-2513-0568

   ที่ทำการไปรษณีย์ไทยประกันชีวิต

0-2246-9801

ที่ทำการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยสยาม

0-2457-0504

   ที่ทำการไปรษณีย์ศรีนครินทรวิโรฒ

0-2259-3753

ที่ทำการไปรษณีย์เซ็นทรัลพระราม 2

0-2872-4248

   ที่ทำการไปรษณีย์เพชรบุรีตัดใหม่

0-2314-3435

   ที่ทำการไปรษณีย์ธรรมศาสตร์รังสิต

0-2564-4439

   ที่ทำการไปรษณีย์ศูนย์หนังสือจุฬา

0-2251-8162

   ที่ทำการไปรษณีย์มอนเทอเรย์ทาวเวอร์

0-2308-0030

   ที่ทำการไปรษณีย์เซ็นทรัลซิตี้บางนา

0-2361-1116

ที่ทำการไปรษณีย์ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

0-2958-0768

   ที่ทำการไปรษณีย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

0-2134-4290

ที่ทำการไปรษณีย์จิวเวลรี่เทรดเซ็นเตอร์

0-2267-4419

   ที่ทำการไปรษณีย์พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

0-2585-4303

   ที่ทำการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

0-2275-2215

   ที่ทำการไปรษณีย์ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

0-2229-4288

 

น้ำมันมะพร้าวดีต่อผิวหนังอย่างไร?

น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวน้ำมันมะพร้าว,น้ำมะพร้าว,น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์,coconut,coconutvirgin

1. ฆ่าเชื้อโรคที่ทำอันตรายต่อผิวหนัง เพราะน้ำมันมะพร้าว มีกรดลอริก ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกันกับที่อยู่ใต้ผิวหนัง คอยช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง สิว ฝ้า กระ หูด

2. ต่อต้านการเติมออกซิเจน น้ำมันมะพร้าว มีสารต่อต้านการเติมออกซิเจน หรือ แอนตีออกซิแดนต์ (antioxidant) ซึ่งช่วยต่อต้านการเติมออกซิเจนสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของการเหี่ยวย่นของผิวหนัง จึงช่วยปกป้องผิวหนังจากการทำลายของแสงแดดได้ดี

3. ซึมสู่ผิวหนังได้รวดเร็ว น้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลาง จึงซึมผ่านผิวหนังได้สะดวก และ รวดเร็ว

4. กระตุ้นให้เซลล์ที่ตายแล้วหลุดลอกออก และเกิดเซลล์ใหม่ น้ำมันมะพร้าวเป็นสารธรรมชาติ ที่ช่วยให้เซลล์ที่ตายแล้ว หลุดลอกออกจากผิวหนัง (natural exfoliant) ที่ดีที่สุด หากผิวหนังไม่สามารถลอกเซลล์ที่ตายแล้วออกไป เซลล์ที่เกิดใหม่ จะเกิดบนเซลล์ที่ตายแล้ว ทำให้ผิวหนังหยาบกระด้าง และแตก น้ำมันมะพร้าวจะช่วยให้เซลล์ที่ตายแล้วหลุดออกไป และ กระตุ้นให้เกิดเซลล์ใหม่ ทำให้ผิวดูอ่อนวัย ปราศจากรอยเหี่ยวย่น และอาการชราภาพก่อนวัย

5. ผิวนุ่ม ชุ่ม เนียน: น้ำมันมะพร้าวแทรกซึมเข้าไปใต้ผิวหนังอย่างรวดเร็ว ทำหน้าที่เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น (moisturizer) ให้แก่ผิวหนังอย่างดี เพราะน้ำมันมะพร้าว เป็นสารตัวเดียวกันกับน้ำมันธรรมชาติ (sebum) ที่มีอยู่ในต่อมขุมขนใต้ผิวหนัง

6. ป้องกันและรักษา ฝ้า กระ จุด หรือรอยบุ๋ม: น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริกซึ่งจะเปลี่ยนเป็นโมโนลอริน ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของฝ้า กระ หรือจุด ต่างๆ อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผิวหนัง

7. ป้องกันและรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน: น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อโรคผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน  โรคผิวหนังอักเสบ และโรคผิวหนังติดเชื้ออื่นๆ

8. ป้องกันและรักษาการเกิดอาการไหม้เกรียมเพราะถูกแสงแดด (Sunburn) น้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกันการอักเสบ หรือไหม้เกรียมของผิวหนัง เนื่องจากถูกแสงแดด เป็นเวลานาน เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นยากันแดดได้ดี อีกทั้งยังไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนครีมกันแดดส่วนมาก

9. ป้องกันริมฝีปากแตก: น้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่เป็นยาทากันริมฝีปากแตก (Lip balm) ได้ดี เพราะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ริมฝีปาก

10. รักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย นำน้ำมันมะพร้าวมาถูบริเวณที่เป็นผื่นแดง ไม่นานผื่นแดงนั้นก็จะหายไป พร้อมทั้งอาการคันหรือปวดแสบปวดร้อนจากพิษแมลง ก็จะดีขึ้น

11. ป้องกันและรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง: นอกจากจะทำให้ผิวหนังดูอ่อนวัยแล้ว น้ำมันมะพร้าวซึ่งถูกดูดซึมเข้าไปในผิวหนังได้ง่าย เพราะมีโมเลกุลขนาดเล็ก ยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผิวหนัง ทั้งผิวด้านนอก และส่วนลึก จึงช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้ อันส่งผลให้สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เป็นอย่างดี

เรียบเรียงจาก "สวยได้ด้วยน้ำมันมะพร้าว" โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา

เวลาน้ำมันมะพร้าวเป็นไข

น้ำมันและไขมันมีความแตกต่างกันอย่างไร น้ำมัน และไขมันมักจะถูกใช้แทนที่กันเสมอ น้ำมันมีสถานะเป็นของเหลว ส่วนไขมันมีสถานะเป็นของแข็ง น้ำมันทุกชนิด สามารถกลายเป็นไขได้ แต่ด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกัน น้ำมันมะพร้าวเป็นไข (แข็งตัว มีลักษณะเป็นครีมขาว) ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25๐c เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันอิ่มตัวสูง จึงเปลี่ยนเป็นไขเร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่น ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีสภาพเป็นครีมขาว ณ ที่จุดวางขาย หากมีอุณหภูมิเย็น (และจะเปลี่ยนกลับเป็นน้ำมันใสดังเดิมที่อุณหภูมิสูงกว่า 25?c)

ไขของน้ำมันมะพร้าวไม่ใช่น้ำมันเสีย แต่กลับเป็นสัญลักษณ์ของน้ำมันชนิดดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อคุณซื้อมาจากชั้นวางขาย หรือวางไว้ในห้องแอร์ น้ำมันมะพร้าวอาจเป็นไขได้ คุณเพียงแต่ละลายไขนั้นด้วยการนำออกไปวางในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือวางไว้ในบริเวณที่ใกล้แสงแดด (ไม่ควรตากแดด เพราะหากลืมทิ้งไว้เป็นเวลานาน ความร้อนที่สะสมอาจมีผลกับภาชนะบรรจุ) 

ถึงแม้น้ำมันมะพร้าวจะเป็นผลิตผลของพืชเมืองร้อน แต่กลับเป็นที่นิยมของคนที่อยู่ในเขตหนาว การเป็นไขของน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น ภาชนะที่ใช้ให้เหมาะสมจึงใช้เป็นกระปุกปากกว้าง เพื่อใช้ตักแทนการเทริน และขณะนี้การสั่งน้ำมันมะพร้าวออกไปขายยังประเทศเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ทำไมต้องเลือกชนิดน้ำมันสำหรับทอด หรือ ผัด

น้ำมันมะพร้าว บริสุทธิ์สกัดเย็น 100%

คุณสมบัติของน้ำมันนั้นขึ้นอยู่กับความอิ่มตัว และความยาวของโมเลกุล 

น้ำมันที่มีความอิ่มตัวสูง จะมีคุณสมบัติคงสภาพและทนต่อความร้อนได้ดี เมื่อโดนความร้อน หรือความร้อนสูงที่ใช้ในการทอด โมเลกุลก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ยอมให้ ไฮโดรเจน หรือออกซิเจน เข้าไปจับตัวเพิ่ม (ขบวนการ OXIDATION ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ) 

น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว เนื่องจากแขนของโมเลกุลยังมีช่องว่างอยู่ ไฮโดรเจน หรือ ออกซิเจน จึงเข้าไปจับตัวได้ง่าย เกิดการ OXIDATION เกิดเป็นอนุมูลอิสระ และทำให้น้ำมันเสียได้เร็ว 
สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเสียมีอยู่ 5 วิธี 
1. แสงสว่าง 
2. ความร้อน 
3. ออกซิเจน 
4. ไฮโดรจิเนต (การเติมไฮโดรเจนเข้าไป เพื่อเปลี่ยนจากไขมันไม่อิ่มตัวเป็นอิ่มตัว ไขมันชนิดนี้อันตรายต่อสุขภาพมาก เรียกว่า TRANS FAT) 
5. โฮโมจิไนซ์ การทำให้ไขมันแตกตัว 

ในขบวนการผลิตน้ำมันผ่านกรรมวิธี โมเลกุลของน้ำมันได้ถูกรบกวนและเกิดเป็นอนุมูลอิสระไปแล้วในระดับหนึ่ง และถ้านำมาใช้ซ้ำอีกขบวนการเกิด TRANS FAT จะเกิดขึ้นได้สูงมาก 

ปัจจุบันคนไทยมีความรู้สึกที่ดีมากกับน้ำมันมะกอก (VIRGIN OLIVE OIL) ให้ค่านิยมว่าเป็นน้ำมันสุขภาพ และนำมาใช้ปรุงอาหารทุกชนิดในครัว 

ถึงแม้ว่าน้ำมันมะกอกจะมีกรดโอเลอิกที่มีประโยชน์มากต่อร่างกาย แต่กลับมีปริมาณไขมันอิ่มตัวเพียง 14% ปริมาณไขมันไม่อิ่มตัว 1 ตำแหน่ง 77% และปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง 9% ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้น้ำมันมะกอกไม่มีความคงทนต่อความร้อน จึงควรใช้ประกอบอาหาร เช่น น้ำสลัด หรือ การผัดอาหารที่ใช้น้ำมันไม่มาก และไม่ใช้ความร้อนสูง 

ดังนั้นถ้าต้องการทอดอาหารหรือปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนสูง อย่างสบายใจจึงควรใช้น้ำมันที่ผลิตโดยวิธีบีบเย็น (COLD PRESSED) และมีความอิ่มตัวสูงเท่านั้น เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่ออากาศ แสง และความร้อนได้ดี ส่วนน้ำมันพืช COLD PRESSED ชนิดอื่นๆ เมื่อเปิดใช้แล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการเกิด OXIDATION จากอากาศและแสง